มายด์ลีน่าเครื่องประดับ

จี้ไหมทองบราซิล ตัวเรือนเงิน

SOLD OUT
จี้ไหมทองบราซิล ตัวเรือนเงิน สนใจสอบถามได้ที่ (089)299-9829,(089)977-7702,(074)732-040 หรือที่ www.mljewelry-stones.com
เหลือ 0 ชิ้น
  • หมวดหมู่ : ไหมทอง ไหมเงิน ไหมนาก ไหมดำหรือแก้วขนเหล็ก(rutile)
  • รหัสสินค้า : 000722

รายละเอียดสินค้า จี้ไหมทองบราซิล ตัวเรือนเงิน

จี้ไหมทองบราซิล ตัวเรือนเงิน  สนใจสอบถามได้ที่ (089)299-9829,(089)977-7702,(074)732-040 หรือที่ www.mljewelry-stones.com

โป่งข่ามเป็นภาษาเรียกของคนโบราณในทางเหนือของประเทศไทย  ในปัจจุบันคนสมัยนี้เรียกไหมทอง  ไหมนาก  ไหมเงิน ไหมดำ หรือแก้วขนเหล็ก  ไหมทองที่สวยที่สุดในโลกพบที่บราซิล หรือที่เรียกว่าไหมบราซิลทางร้านสั่งมาขายราคากิโลละหลักแสนครับ       สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ร้านมายด์แอนด์ลีน่าเครื่องประดับเบอร์    074-732040     089-9777702    089-2999829    086-6944446    www.mljewelry-stones.com

โป่งข่าม 

ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักโป่งข่ามกัน แต่เพียงว่าเป็นแก้วธรรมชาติ ซึ่งได้มาจากเมืองเถิน ส่วนใหญ่ใส โปร่งตา หรือโปร่งแสง ภายในมักจะมีบางสิ่งบางอย่างประจุอยู่หรือมีลวด ลายสีสรร สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้บางก้อน บางชิ้น เมื่อเจียระไนทำหัวแหวนแล้ว จะมีลักษณะเป็นรูปวิวทิวทัศน์อันสวยงาม แปลกประหลาด ที่ยังความ พิศวง นำความเบิกบานใจ และความสุขมาสู่ผู้สวมใส่ ผู้ใช้ และผู้ที่มีไว้เป็นสมบัติของตน

แม้แต่เพชร อันเป็นยอดมณี ถ้าพิจารณากันให้ดีมีเหตุผลตามหลักตรรกวิทยาแล้ว ก็จะต้องถือว่า ไร้ประโยชน์ แต่สำหรับโป่งข่ามนั้น ถ้าเป็นของมีคุณอันวิเศษจริง ก็นับว่าเป็นแก้วที่มีประโยชน์ โป่งข่ามราคาเม็ดละ 1,000 บาท ถึง 2,000 บาท ก็มีซื้อขายกันอยู่เป็นธรรมดา และราคาไม่หยุดอยู่เพียงนั้น โป่งข่ามเม็ดละ 5,000 บาท ถึง 6,000 บาท ก็มี และแม้แต่เม็ดละ 10,000 บาทขึ้นไปก็ยังมีผู้ซื้อ ราคาของโป่งข่ามขึ้นอยู่ต่อความหายาก ความงามของแก้ว กับความหลง และกำลังทรัพย์ ของผู้ซื้อ โป่งข่ามเม็ดไหนก็เม็ดนั้น ไม่มีเหมือนกันโดยสมบูรณ์ โป่งข่ามแต่ละเม็ดจึงเป็นเม็ดเดียวในโลกเป็นเรื่องสำคัญทางจิตใจ ของปุถุชน จำนวนไม่น้อยที่อยาก หรือ ยินดีที่จะมี ที่จะได้เป็นเจ้าของ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่เหมือนของใครในโลก และเมื่อมีเม็ดหนึ่งแล้ว จะพบเม็ดใหม่อีกสักกี่เม็ด ก็ไม่เหมือนเม็ดที่มีอยู่ อาจจะสวยไปคนละแบบ จะซื้อไว้อีกก็ไม่ซ้ำกับของที่มีอยู่แล้ว และมีเหตุที่จะอ้างเพื่อการซื้อได้อีกเสมอไป ราคาของโป่งข่ามเริ่มต้นที่ปากหลุมซึ่งขุดได้ และจะเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนมือจากพ่อค้าที่ปากหลุม ไปสู่ผู้รับเจียระไนตามหมู่บ้าน ร้านตลาด จากบ้านไปสู่เมือง จากผู้ขายไปสู่ผู้ใช้ แก้วโป่งข่ามเม็ดหนึ่ง อาจจะเปลี่ยนมือ และราคาเพิ่มขึ้นหลายครั้ง แล้วก็อาจจะไดราคาดีที่สุดเมื่อผู้ซื้อขอให้ผู้ขายนำมาให้ดูที่บ้าน

ตลอดระยะทางอันไกลจากบ่อแก้วอันเป็นที่เกิด จนมาประดับอยู่บนมือผู้ใช้โป่งข่ามนั้น ก่อให้เกิดธุรกิจการค้า การหมุนเวียนของเงินตราหลายด้าน หลายประการ อาทิ การค้าวัสดุเพื่อการขุด การตัด การเจียระไน และการทำเรือนแหวน การรับจ้างตัดแก้ว และเจียระไน การคมนาคม การขนส่ง การโฆษณา ร้านอาหาร โรงแรม ธนาคาร และนายหน้า เป็นต้น

ผู้เขียนเรื่องนี้รู้จักสภาพท้องถิ่นในภาคเหนือของประเทศไทยพอสมควร ผู้เขียนเคยไปอำเภอเถินมาก่อนแล้ว และผู้เขียนเคยผ่านบ้านดอนชัยอันเป็นชุมทาง ของทางแยกแห่งหนึ่ง บนถนนพหลโยธินใกล้อำเภอเถินมาหลายครั้ง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2513 ผู้เขียน และเพื่อนอีกหลายคน ได้เดินทางไปยังอำเภอเถิน อีกครั้งหนึ่ง เพื่อดูการขุดแก้วโป่งข่าม และภาวะของการค้าโป่งข่าม ผู้เขียนได้พักแรมที่อำเภอเถินสองคืน และเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันที่ 10 ธันวาคม 2513 ผู้เขียนคาดไม่ถึง ว่าจะได้เห็นผู้คนสนใจ มีธุรกิจเกี่ยวกับโป่งข่ามกันมากมายถึงขนาดนั้น

สามแยกดอนชัยอันเป็นชุมทางรถโดยสาร ตาก - เถิน - ลี้ - ลำปาง คลาคล่ำไปด้วยพ่อค้าแม่ขาย แต่มิใช่ขายอาหาร- เครื่องดื่มที่เดกันเข้ามาหาผู้โดยสาร เมื่อรถจอดเช่นกับ ที่เคยเห็นกันในที่อื่น ที่นี่มีแต่การขายโป่งข่ามกันเป็นส่วนใหญ่ โป่งไม๊คะ? ซื้อโป่งบ้างไม๊คะ? อะไรนะ? โป่งข่ามเจ๊า ......สามแยก ดอนชัย เป็นตลาดโป่งข่ามใหญ่เป็นที่ 2 รองจากเถินที่บ้านนาบ้านไร่ และบ้านแม่แก่ง ซึ่งอยู่ใกล้ดอยโป่งหลวง

และใครจะไปบ่อแก้วโป่งข่ามจะต้องผ่านหมู่บ้านทั้งสองนี้ ขวักไขว่ไปด้วยผู้คน และรถโดยสารที่นำพ่อค้า แม่ค้าโป่งข่ามมาจากเถิน หมู่บ้านคึกคักผิดปกติของหมู่บ้านในชนบทของเมืองไทยเป็นอันมาก ราวกับกำลังมีงานออกร้านฉลองอะไรสักอย่างหนึ่ง คนที่เดินผ่านมาจะต้องหยุดถามเราว่า ซื้อโป่งข่ามไหม? เหมือนกับคนมาถามเราว่าซื้อลอตเตอรี่ไหม? บางคนก็มีให้เราดูมาก ดูแล้วไม่พอใจ เขาก็มีให้เลือกอีก ในกระเป๋ากางเกง ในย่าม ในกระเป๋าถือ และในกระเป๋าเอกสาร แต่ละคนมีโป่ง พูดกันแต่เรื่องโป่ง คนขายกาแฟ ส่งโอเลี้ยงให้เราแล้วก็ถามว่า ซื้อโป่งไหม? บนทางเท้า จากบ้านนาบ้านไร่ ไปโป่งหลวงมีทั้งคนไป และคนมา ราวกับว่ามีงานวัดอยู่ข้างหน้า ใต้ถุนบ้าน บนชานเรือนในหมู่บ้านจะมีคนนั่งกันเป็นกลุ่ม ขัดโป่งข่ามกันไป คุยกันไปไม่หยุดมือ ดู ๆ แล้วก็ต้องนึกว่าแต่ละคนทำงานแข่งกับเวลา

เพราะทุก ๆ เม็ดที่กำลังขัด หรือเจียระไนอยู่นั้น มันเป็นของมีราคา เสร็จแล้วเป็นต้องขายได้ และเม็ดหนึ่ง เขาจะขายได้ เป็นมากกว่าค่าจ้างแรงงาน รายวันธรรมดา หลายเท่า หรือหลายสิบเท่า และถ้าขยันมากก็ได้มาก คนหนึ่งวันหนึ่ง อาจจะเจียระไนได้ถึง 5 เม็ด สุดแต่ว่าเม็ดเล็กเม็ดใหญ่เจียระไนยาก หรือง่าย เวลาของเขาจึงนับได้ว่าเป็นเงินเป็นทอง โอกาสดี ได้มาถึงแล้ว น้ำขึ้นต้องรีบตักตลาดอำเภอเถิน มีสินค้าอย่างใหม่วางขายตามร้านค้า และตามบ้าน นับร้อยหลังคาเรือน โดยไม่จำกัดว่าเป็นร้านค้าอะไร บ้านของใคร ที่นั่นเขาเรียกแก้วโป่งข่ามกันสั้น ๆ ว่า "โป่ง" คำเดียวเป็นรู้เรื่อง

ร้านกาแฟก็มีโป่งขาย ร้านชำก็มีโป่งขาย ร้านดัดผมก็มีโป่งขาย ร้านอะไหล่รถยนต์ ร้านขายยา ร้านขายวิทยุ ร้านขายจักรยานยนต์ ร้านขายเครื่องนุ่งห่ม เครื่องสำอาง ร้านขายอาหาร ต่างก็มีโป่งขาย บ้านคุณครู บ้านผู้ใหญ่ บ้านคุณหมอ บ้านคหบดี ต่างก็มีโป่งขาย กันทั้งนั้น ชั่วเวลาสั้น ๆ ที่ผู้เขียนอยู่ที่เถิน จึงมีโอกาสได้เห็นโป่งข่ามหลายพันเม็ด บางร้าน ก็เอาโป่งวาง เรียงราย ไว้บนโต๊ะ ที่หน้าร้านอย่างเปิดเผยไม่กลัวขโมย บ้างก็กวาดของอื่น ในตู้โชว์ของ เสียชั้นหนึ่ง หรือทั้งตู้ เอาโป่งเข้าไปวางแทน ตู้ใส่บุหรี่ขาย ก็มีโป่งเข้าไปแทนที่ เสียครึ่งตู้ หรือเต็มตู้ไปเลย ถ้าเราแวะร้านไหนไปก้ม ๆ เงย ๆ ดูโป่งข่าม คนในร้าน เขาจะรีบมา ต้อนรับทันที ซื้อโป่งหรือคะ เชิญนั่งก่อนซีคะ ข้างใน ดิฉันยังมีให้ชมอีกมากนะคะ สิ่งที่อยู่เบื้องหลัง ใบหน้าอันยิ้มระรื่น เสียงหัวเราะอันระริก ของผู้หญิงนั้นคือ ความเป็นสุขใจ ของเขา เขาไม่เคยขายอะไรได้กำไรดีเท่าขายโป่งข่าม

โป่งข่ามนำเงินทองมาสู่เขาอย่างไม่เคยมาก่อน ตลาดเถินเป็นทั้งที่ขายปลีก และขายส่งอะไรทำนองนั้นอีกด้วย พ่อค้าแม่ค้าจากเชียงใหม่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ และกรุงเทพฯ มาซื้อโป่งข่ามจากที่นี่ไปขาย เจ้าของร้านแห่งหนึ่ง บอกเราให้ทราบว่า คนนั้น คนนี้ที่ตาก พิษณุโลก เคยมาซื้อไปแล้ว 40,000 บาท บ้าง 70,000 บาทบ้าง

และที่อีกร้านหนึ่งบอกว่า รายนี้ (ให้ดูนามบัตร และชื่อร้าน ที่พิษณุโลก) ซื้อไป 3 ครั้งแล้ว กว่า 1 แสนบาท นายอำเภอเถินบอกแก่ผู้เขียนว่า ธนาคารออมสินอำเภอเถิน เคยมีเงินฝากเพียงเป็นเรือนแสน และในชั่วเวลาเพียงไม่กี่เดือน จำนวนเงินฝากเพิ่มขึ้นถึง 8 ล้านบาท นั้นหมายความว่า ธุรกิจอันเนื่องมาจากโป่งข่าม ต้องก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตราหลายสิบล้านบาท และจะต้องมีคนมาเกี่ยวข้อง กับธุรกิจอันนี้หลายหมื่นคน เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่น่าสนใจ และอาจจะเป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองไทย

โป่งข่ามนั้น เป็นที่รู้จักกันมากกว่า 100 ปี แล้ว เดิมเรียกกันว่า "แก้วเมืองเถิน" ผู้เขียนได้เคยเห็นแก้วนี้ เป็นมรดกตกทอด มาจากบรรพบุรุษ ของตระกูลเก่าแห่งเมืองเชียงใหม่ เป็นแก้วโปร่งแสง สีฟ้า มีลาย คล้ายเมฆ เรียงตัวซ้อนกัน เป็นชั้นสวยงามมาก ผู้เขียนได้เห็นแก้วเมืองเถิน ที่เป็นของมรดก อีกหลายเม็ด เป็นแก้ว โปร่งตาใสแจ๋ว ภายในมีแถบ และเส้นใยเหลือบเป็นไหม สีเงิน และสีทองสวยงามมาก ข้อที่น่าสังเกต ประการหนึ่งก็คือ ท่านผู้เป็นเจ้าของแก้วเมืองเถินเหล่านี้เก็บรักษาแก้วกันมา ก็ด้วยเหตุว่า เป็นของสวยงามเท่านั้น ไม่มีผู้ใดพูดกันถึงความขลังของแก้วนี้เลย

ก่อนที่จะมีการแตกตื่นกันในครั้งนี้ ผู้เขียนได้เห็นแก้วโป่งข่าม ที่เจียระไนแล้ว นำมาใส่ตู้กระจก วางไว้ขาย ที่ร้านอาหาร สามแยกดอนชัย อำเภอเถินตลอดเวลา 4 - 5 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีผู้สนใจมากนัก เพราะแก้วสวยไม่สมราคา ทั้งนี้ส่วนหนึ่ง เนื่องมาจากเจียระไนไม่ดี และอีกส่วนหนึ่ง เนื่องมาจาก ไม่ได้คัดเลือก เอาแต่ที่สวย ๆ มาวางขาย ระยะนั้นเรียกโป่งข่ามกันว่า "แก้วแม่แก่ง" บ้าง "แก้วโป่งข่าม" บ้าง

ประมาณกลางปี พ.ศ. 2512 ได้มีคนอำเภอเถินนำแก้วโป่งข่ามที่ยังไม่ได้เจียระไน และเจียระไนแล้ว มาให้ คุณดิ้น บุนนาค หัวหน้าศูนย์ทรัพยากรธรณี 2 ของกรมทรัพยากรธรณี ที่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตรวจดู และปรึกษาว่า แก้วนี้จะเป็นของมีราคา ผลิตขึ้นจำหน่ายได้ หรือไม่ คุณดิ้น บุนนาค ได้ ให้การสนับสนุน แก่ผู้ที่มาปรึกษา ให้เจียระไน แก้วโป่งข่ามจำหน่าย ทั้งได้ให้คำแนะนำ ในการตัด และการเจียระไน แก่ผู้นั้นด้วย

การตัดโป่งข่ามด้วยมีดหรือเลื่อยธรรมดาให้เป็นชิ้นเหมาะแก่การเจียระไน เป็นของยาก เพราะแก้วไม่แตกตามที่ต้องการ และมักจะทำให้เกิดร้าวทั่ว ๆ ไป แก้วนี้แข็งเกินไปที่จะตัดด้วยมีด หรือเลื่อย ๆ เหล็ก ได้ ต้องใช้ใบเลื่อยวงเดือน ที่ขอบฝังเพชร หรือคาร์โบรันดั้ม และหมุนเร็ว ซึ่งมีศูนย์ทรัพยากรธรณี 2 เชียงใหม่

นับแต่นั้นมา ก็มีชาวเถินนำแก้วโป่งข่าม มาของความช่วยเหลือให้ศูนย์ทรัพยากรธรณี 2 เชียงใหม่ ตัดให้เสมอมานับแต่นั้นมา ก็มีชาวเถินนำแก้วโป่งข่าม มาของความช่วยเหลือให้ศูนย์ทรัพยากรธรณี 2 เชียงใหม่ ตัดให้เสมอมา

ครั้นต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2513 คุณศักดิ์ รัตนชัย แห่งสโมสรโรตารี่ ได้มาพบนักธรณีวิทยาของกองธรณี กรมทรัพยากรธรณี ที่ศูนย์ทรัพยากรธรณี จังหวัดเชียงใหม่ คือนายสงัด ปิยะศิป์ ดร.ภูธร สุขโต และนายวิชัย ศิวะบวร ขอความรู้ในทางธรณีวิทยาเพื่อนำไปเขียนหนังสือเผยแพร่ความรู้ และเป็นคู่มือของผู้เสาะแสวงหาแก้วโป่งข่ามและผู้สนใจโป่งข่าม หนังสือเล่มนั้นได้พิมพ์ขึ้น และจำหน่ายหมดไปอย่างรวดเร็วในปีเดียวกัน

พื้นที่ ๆ ในปัจจุบันเรียกว่าโป่งข่ามนั้น อยู่บนดอยโป่งหลวง ซึ่งอยู่ในเขตปกครอง ของบ้านแม่แก่ง ตำบล แม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง พื้นที่นี้ อยู่ห่างอำเภอเถิน ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ค่อนไปทางเหนือ เป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 350 เมตร

การเดินทาง ไปที่โป่งข่าม จะต้องไปถึงอำเภอเถิน หรือ สามแยกดอนชัยเสียก่อน (สามแยกนี้เป็นชุมทาง ที่ถนนพหลโยธิน แยกไปจังหวัดตาก ทางใต้ ทางหนึ่ง แยกไปอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางหนึ่ง กับแนวไปลำปาง อีกทางหนึ่ง ชุมทางนี้ อยู่ห่างจากอำเภอเถินประมาณ 3.5 กิโลเมตร)

แล้วเดินทางต่อไป ยังหมู่บ้านนาบ้านไร่ ด้วยรถยนต์โดยสาร สองแถวขนาดเล็ก แล้วจากบ้านนา บ้านไร่ เดินเท้าต่อ ไปยังดอยโป่งหลวง ระยะทางตรง ประมาณ 4 กิโลเมตร ทางสบายใช้เดินประมาณครึ่งชั่วโมงเศษ หรือค่อนชั่วโมง บริเวณที่เรียกโป่งข่าม เป็นตะพักของลาดเขาดอยโป่งหลวง สูงจาก พื้นที่โดยรอบประมาณ 50 เมตร ในบริเวณพื้นที่ขนาดประมาณ 100 x 300 เมตร เต็มไปด้วยรู และหลุมที่ชาวบ้านขุดลงไปในหินชีส (schist) หรือไนส์ (Gneiss) ที่มีสายควอตซ์ (Quartz) เป็นกำแพง หรือเป็นแผ่น เป็นแผงแทรกในหินนี้

ในแนวประมาณ เหนือใต้ ขนานกันไปหลายสิบสาย สายควอตซ์นี้คือ สายแม่ ของแก้วโป่งข่าม ซึ่งแทรกอยู่ ในหินผุ สองข้างสายควอตซ์ การขุดหาโป่งข่ามใช้เสียม ชะแลง และจอบ เป็นเครื่องมือขุด ตามไปกับ ความยาว ของสายควอตซ์ ซึ่งมักจะมุดหินหายไป และส่วนมากขุดกันลึกประมาณ 2 - 3 เมตร เท่านั้น ลึกที่สุดไม่เกิน 5 เมตร หลุมที่ขุดลงไปไม่มีน้ำ แต่ขุดลึกมาก หลุมจะพังทับจึงไม่มีใครกล้าลงทุนค้ำจุน เพื่อกันหลุมพัง เพราะผู้ขุดแก้วโป่งข่ามได้ จะขายแก้วได้ ก็ได้เงินไม่มากมายอะไรนัก ผู้รับซื้อมาเจียระไน กับคนขายแก้วที่เจียระไนแล้วต่างหาก ที่เป็นผู้ได้กำไรงาม แก้วจากบ่อนี้เท่านั้น ที่เป็นแก้วโป่งข่าม ที่แท้ แต่ดั้งเดิม ใส หรือขุ่นแบบน้ำเจือนมเล็กน้อย สีฟ้าอมเทา หรือเทาอมฟ้า (คล้ายสีควันบุหรี่ ทั้งที่มาจาก บุหรี่โดยตรง หรือสูบแล้วพ่นออกมา) อาจมีลายคล้ายเสี้ยน หรือใยเหลือบคล้ายไหม สีขาว เทา เทาอมฟ้า หรือสีทองคำที่เจือเงินเล็กน้อย แก้วโป่งข่ามที่ขายกันอยู่ทั่วไป ในขณะนี้มิใช่มาจากโป่งข่ามแห่งเดียว

เพราะแหล่งต้นตอ ขุดกันเสียพรุน จนเกือบจะหาอะไรอีกไม่ได้แล้ว ผู้ที่มีเก็บ เป็นของเก่า ก็เอามาตัดเจียระไน ขายกันในคราวนี้เอง แก้วแบบโป่งข่าม อีกจำนวนหนึ่งมาจาก ดอยหมูไหล กับดอยห้วยตาด เป็นเขาที่ติดต่อ กับดอยโป่งหลวง ไปทางเหนือสูงประมาณ 300 ถึง 400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ส่วนเขาสองนาง อยู่ชิดทางที่ กม.13.5 จากสามแยกดอนชัย ไปลี้ แก้วจากดอยหมูไหล มักมีแร่ทัวมาลีน (Tourmaline) แทรกลักษณะเป็นเข็ม เป็นเส้น หรือเป็นฝอยสีดำ บางทีก็ดูคล้ายเส้นผม หรือขนหมู ในแก้วใสแจ๋ว หรือขุ่นคล้ายเทียนไข แก้วจากดอยห้วยตาด มีผลึก หรือแทรกด้วยคราบสีเขียว หรือแร่คลอไรท์ (chlorite) สีเขียว แก้ว จากเขาสองนาง มักจะมีคราบของแร่เหล็กเหลือง หรือสนิมเขียว ๆ แทรก

แก้วโป่งข่ามที่ขุดได้มักเป็นผลึกแท่งยาว ๆ ชาวบ้านเรียกหน่อแก้ว ส่วนที่เอามาเจียระไนได้ มักจะเป็นส่วนปลาย หรือยอดหน่อ 

เพราะเป็นส่วนที่มักจะมี inclusion ซึ่งเจียระไนแล้วอาจได้ภาพ หรือวิวแปลกประเภทใส ๆ กับผลึกเล็ก ฝังอยู่ในผลึกใหญ่ มักอยู่ตอนกลางลำตัว ของหน่อ การเจียระไน ตามประสาชาวบ้านทำกันง่าย ๆ เริ่มต้นด้วย การตัดหน่อแก้ว ด้วยคมอีโต้ หรือขวาน หรือสกัด วางคมมีด ลงบนหน่อแก้ว ที่วางอยู่บนขอนไม้ เอาฆ้อน หรือขอนไม้ หรือหัวขวาน ตีโป๊ก ลงไปบนสันมีด อย่างแรง เอาชิ้นหน่อแก้ว ที่ต้องการเจียระไน มาติดเข้ากับปลายไม้ไผ่ ที่เหลาให้เหมือน กับตะเกียบอ้วน ๆ ยาวประมาณ 1 คืบ ใช้กาวยางไม้ ชนิดหนึ่งยึดแก้ว ให้ติดปลายไม้ตะเกียบ ซึ่งอีกปลายหนึ่ง เอาไว้จับ แล้วนำมาขัดถู กับหินลับมีด เนื้อหยาบ โกลนให้ได้รูป ที่ต้องการ แล้วขัดต่อไป ให้ผิวเรียบ เกลี้ยงเกลา ด้วยหินเนื้อละเอียดมาก และน้อย อีกสองขั้นสุดท้าย คือการชักเงา โดยเอามาขัด กับคายใบตองแห้ง คนขยัน ทำงานไว และเม็ดขนาดพอสมควร เม็ดหนึ่ง อาจขัดเสร็จภายใน 3 ชั่วโมง หรืออย่างเก่งจริง ๆ ก็ 2 ชั่วโมง เม็ดหนึ่งจะขายได้อย่างน้อยที่สุดก็ 10 บาท ถ้าวันหนึ่งขัดได้ 5 เม็ดก็สบายแล้ว

แก้วโป่งข่ามทั้งหมดที่ซื้อขายกันอยู่ขณะนี้ จัดว่าเป็นแร่อย่างหนึ่ง ซึ่งในวิชาแร่ (Mineralogy) เรียกว่าควอตซ์ (Quartz) ในภาษาไทยเรียกทับศัพท์ ควอตซ์ ก็มีเรียกเขี้ยวหนุมานก็มี เรียกหินดินสอก็มี ควอตซ์ส่วนมาก เกิดเป็นรูปผลึก รูปร่าง เป็นแท่ง อย่างแท่งดินสอ ที่เป็นเหลี่ยม หกด้าน ปลายแหลม ผลึกมักเกิดเกาะกันเป็นหมู่ หรือแม้แต่เบียดกันเป็นผลึกซ้อนก็มี ส่วนมากผลึกมีขนาดใหญ่ เล็ก ยาว สั้น ไม่เท่ากัน ชาวเหนือ มักเรียกว่าหน่อแก้ว ถ้าผลึกเล็กมากไป ก็มองไม่เห็นรูปร่าง ของผลึก ถ้าโตพอ เช่นตั้งแต่ขนาดเข็มหมุดขึ้นไปจะเห็นรูปผลึกของควอตซ์ อาจจะใหญ่โตได้ ถึงขนาดยาวเป็นเมตร กว้างหลายสิบเซ็นติเมตร ผลึกควอตซ์ยาว 10 ถึง 30 ซม. กว้าง 4 - 5 ซม. ถึง 10 ซม. ก็มีมาก ผลึกอาจจะใส หรือขุ่น อย่างน้ำนมสด และอาจมีสีได้ต่าง ๆ กัน ตามแต่ชนิดของแร่ ที่เจือปนอยู่ในเนื้อ ควอตซ์เป็นแร่ที่แข็งมาก อย่างหนึ่ง และมาตรฐาน ความแข็งของโมห์ (Moh's scale of hardness) จัดควอตซ์ไว้ในอันดับ ความแข็ง 7 (ความแข็งมี 10 ขั้น เพชรแข็งที่สุด คืออยู่ในอันดับที่ 10) 

ความแข็งขนาดนี้ ทำให้ควอตซ์คงทนต่อการสึกหรอได้ดีพอควร ควอตซ์แข็ง แต่ไม่เปราะ ขอบของผลึก หรือควอตซ์ที่เจียระไนแล้ว จะไม่แตกง่าย อย่างเพทาย ประกอบกับมีสีสวยงามพอสมควร และมี variety มาก ควอตซ์ จึงจัดเป็นรัตนชาติตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง

รัตนชาติตระกูลควอตซ์ ซึ่งจำแนกชนิดโดยสี ได้แก่

1. Amethyst คือควอตซ์สีม่วง หรือที่เรียกกันว่าพลอยสีดอกตะแบก เป็นควอตซ์ที่ตกผลึกใส โปร่งตา หรือโปร่งแสง ในประเทศไทยมีมากที่นครนายก ที่แม่วะ อำเภอเถิน แม่สรอย จังหวัดแพร่ และที่อำเภอขลุงจังหวัดตาก

2. Green quartz ควอตซ์สีเขียว ในธรรมชาติไม่มี แต่ทำขึ้นได้ โดยเอาพลอยสีดอกตะแบก ไปอบให้ร้อนจัด จะเปลี่ยนสีเอง

3. Madeira quartz ควอตซ์สีเหล้าองุ่นมะเดียร่า หรือสีน้ำผึ้งแก่อมแดงเล็กน้อยไม่เคยได้ยินว่าพบในประเทศไทย แต่พบกันในประเทศพม่ามาก

4. Rose quartz ควอตซ์สีชมพูอ่อน ดังสีกุหลาบ เคยพบที่เหมืองแร่ดีบุก จังหวัดระนอง และตะกั่วป่า

5. Smoky quartz ควอตซ์สีฟ้า สีเทา สีควันไฟ ได้แก่ควอตซ์ที่โป่งข่าม อำเภอเถิน แต่เดี๋ยวนี้หายากเสียแล้ว และนับเป็นโป่งข่าม ที่ราคาดีกว่า โป่งที่มาจาก ดอยอื่น ๆ

6. Smoky topaz คือ Smoky quartz สีเหลืองมีที่โป่งข่ามอำเภอเถิน

ควอตซ์ 6 ชนิดนี้ เป็นควอตซ์ตกผลึก ใสโปร่งตาทั้งสิ้น ที่ใสโปร่งแสงเท่านั้น อาจมีบ้างเป็นจำนวนน้อย ควอตซ์ที่นำมาใช้เป็นเครื่องประดับ ประเภทรัตนชาติ อีกพวกหนึ่งได้แก่ ควอตซ์ที่ใสโปร่งตา ไม่มีสี แต่มักจะมีแร่อื่น ประจุอยู่ภายใน เช่น แร่พวกใยหิน (Asbestos) รูไทล์ (Rutile) ทัวมาลีน (Tourmaline) กลีบหิน (Mica) คลอไรท์ (Chlorite) แร่เหล็กแดง (Hematite) และแร่เหล็กเหลือง (Limonite)

ควอตซ์ที่มาจากโป่งข่าม ดอยหมูไหล และดอยห้วยตาด ซึ่งรวมเรียกกันว่าโป่งข่ามนั้น ส่วนใหญ่เป็นควอตซ์ในจำพวกนี้ ซึ่งก็ไม่น่าจะมีมากมายหลายชนิดนัก แต่บรรดานักเลงโป่งข่ามทั้งหลาย นักฝัน คนที่ไม่ค่อยจะมีงานทำ กับพวกพยายามจะขายโป่งให้ได้มากขึ้น สามารถมองโป่งข่ามให้เป็นอย่างโน้น อย่างนี้ไปต่าง ๆ กันมากมาย ผู้เขียนทราบว่าตำราโป่งข่ามของ คุณศักดิ์ รัตนชัย จำแนกโป่งข่ามออกเป็นชนิดหรือแบบต่าง ๆ ถึงกว่า 30 ชนิด

เพื่อแสดงว่าฝรั่งเขาก็เล่นโป่งข่ามกันเหมือนกัน และเพื่อแสดงว่าโป่งข่ามของเราบางชนิดก็เข้ากับวิชารัตนชาติ (Gemmology) ของฝรั่งเขาได้เหมือนกัน ผู้เขียนจะขอยกมากล่าวเพียงบางพวกบางชนิดดังต่อไปนี้

1. แก้วน้ำหาย คือผลึกควอตซ์ใสไม่มีสี ไม่แตกร้าว ไม่มีอะไรเคลือบ แทรกหรือประจุอยู่ในแจ๋วเสียจนไม่มีน้ำ จึงเรียกว่า น้ำหาย วิชาแร่เรียก Rock crystal ควอตซ์แบบนี้อาจพบก้อนใหญ่พอจนเอามาเจียระไนทำลูกแก้วกลมขนาดใหญ่ ๆ ได้ อย่างที่เรียกว่า Crystal ball ของหมอดูลูกแก้ว

2. สีฟ้า เทา หรือสีควันไฟ Smoky quartz ใสหรือขุ่นเล็กน้อย

3. ประภาส้มชื่น สีส้ม หรือน้ำตาล อมเหลือง Cairngorm

4. สายรุ้ง - รุ้ง rainbow - quartz or iris เกิดรุ้งเพราะมีรอยร้าว แสงที่ผ่านจึงถูกแยกเป็นสีต่าง ๆ (เรียก interference of light) รอยร้าว อาจขยาย ทำให้รุ้งชัดขึ้น ขยายใหญ่ขึ้น หรือลดลงก็ได้ อาจจะใส่สีลงไปก็ได้ โดยอบให้ร้อนสักหน่อย แล้วจุ่มลงในน้ำใส่สี ด้วยวิธีนี้อาจทำให้ควอตซ์ดี ๆ เกิดร้าวมีรุ้งได้เหมือนกัน

5. แก้วเข้าแก้ว เกิดจากผลึกใหญ่อมผลึกเล็กไว้ (Intergrowth) หรือรอยร้าวอันหนึ่ง ถูกตัดโดยรอยร้าวอีกอันหนึ่ง

6. ปวก ทราย มีประจุ หรือเคลือบให้ดูคล้ายจอมปลวก กอปะการัง กอหญ้า มอส (Moss) พื้นทราย หรือฉากวิวเพราะเกล็ดของ mica, chlorite, hematite, limonite หรือแร่อื่น ที่คล้ายเป็นเกล็ดเล็ก ๆ สีต่าง ๆ ในวิชารัตนชาติเรียกว่า Aventurine

7. เข็มเหล็ก ขนเหล็ก ฝอยเหล็ก ขนหมู คือควอตซ์ใส ที่มีผลึกรูปเข็มของแร่ทัวมาลีน หรือ รูไทล์ หรืออาจเป็นฝอยดังเส้นผม ก็มักจะเนื่องมาจากมีรูไทล์ ประจุอยู่เช่นกัน และในวิชารัตนชาติเรียก Rutilated Quartz

8. เข็มทอง ฝนทอง ไหมทอง เป็นควอตซ์ ที่มีแร่ใยหินพวก Crocidolite ประจุอยู่คล้าย ฟางข้าว สีทอง หรือไหมทอง ทั้งนี้เพราะแร่ Crocidolite ถูกเติมออกซิเจน ถ้าแร่นี้ไม่ถูกเติม ออกซิเจน ก็จะให้เส้นใยสีฟ้า ซึ่งสวยงามไม่น้อยไปกว่าสีทอง