ตระกูล สมันตรัฐ จัดปฏิรูปการเมืองสตูล ต้นตระกูลคือหลวงโกชาอิศหาก รับตำแหน่งล่ามมลายูและผู้ดูแลเครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองมลายู(ร.๕) เดิมใช้นามสกุล บินอับดุลลาห์ บิดาของอำมาตย์เอก พระยาสมันตรัฐบุริน(บุรินทร์ สมันตรัฐ)เป็นผู้ว่าเมืองสตูล พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๗๕(ร.๖,๗)
ผลงานชิ้นสำคัญ ปฏิรูการปกครองบ้านเมืองแบบมณฑลเทศาภิบาล,เร่งรัดการศึกษาภาคบังคับทุกตำบลให้คนเรียนรู้ภาษาไทย,จัดตั้งศาลดาโต๊ยุติธรรม,ตัดถนนหนทางหลายสาย,ผลงานด้านวรรณกรรม,นักการเมือง เป็น ส.ส.,ส.ว.,ร.ม.ต.,ประธานสภาจังหวัดสตูล เป็นล่ามภาษา มลายูถวายแด่ ร.๙ คราวเสด็จฯ๕ชายแดนภาคใต้ครั้งแรกฯลฯ ปีพ.ศ.๒๕๓๕ กระทรวงมหาดไทยประกาศเกียติคุณ พระยาสมันตรัฐ บุรินทร์ นักบริหารและนักปกครองดีเด่นในรอบ ๑00ปี แนะนำทายาท นายเติมศักดิ์ สมันตรัฐ,นายมิตร สมันตรัฐ,นายสุนทร สมันตรัฐ ,นายเสรี สมันตรัฐ,นางเพิ่มสุข สมันตรัฐ,(ณ นคร),นาย สมชัย สมันตรัฐ, นายมนตรี สมันตรัฐ, นายมนูญศักดิ์ สมันตรัฐ ฯลฯ อนุสรณ์ตระกูล มัสยิดโกชาอิสหาก หรือ สุเหร่าวัดเกาะ เขต สัมพันธวงศ์ กทม,ค่ายลูกเสือสมันตรัฐบุรินทร์,ถนน สมันตรประดิษฐ์,ผลงานหนังสือและบทความ จัดพิมพ์โดยองการบริหารส่วนจังหวัด สตูล
พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์)
ประวัติ อำมาตย์เอกพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (บุรินทร์ สมันตรัฐ) เดิมชื่อ ตุ๋ย บินอับดุลลาห์ เป็นบุตรคนที่ ๑๒ ของหลวงโกชาอิสหาก และนางเลี้ยบ บินอับดุลลาห์ เกิดวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๑๔ ที่ตำบลบางลำพูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี ซึ่งขณะนั้นบิดาของท่านดำรงตำแหน่งล่ามมาลายูที่กรมท่า ติดต่อกับต่างประเทศมีหน้าที่รับเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ของบรรดาหัวเมืองขึ้น ฝ่ายแหลมมาลายูที่มาสวามิภักดิ์ บิดาของท่านจึงสนิทสนมกับบรรดาสุลต่านทางมาลายู เป็นอย่างดี เมื่ออายุ ๘ ขวบ เจ้าเมืองปะลิสขอตัวไปอุปการะ เป็นบุตรบุญธรรม ได้เข้าเรียน ณ วัดบางลำพูล่าง (วัดเศวตฉัตร) จังหวัดธนบุรี ใช้เวลาเรียนภาษาไทย ๓ ปี มีความรู้ภาษาไทย แตกฉาน อ่านออกเขียนได้และกลับจากปะลิส ได้มาอยู่ที่กรุงเทพกับบิดา ท่านได้ศึกษาระเบียบบริหารราชการต่าง ๆ เพราะบิดามีความประสงค์ให้ท่านรับราชการต่อไป ปี พ.ศ.๒๔๓๒ อายุ ๑๘ ปี เป็นล่ามมาลายู สังกัดกลาโหม ปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้รับยศเป็นขุนราชบริรักษ์ มณฑลปัตตานี ปี พ.ศ.๒๔๔๑ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเบตง ปี พ.ศ.๒๔๕๕ ดำรงตำแหน่งปลัดเมืองสตูล ปี พ.ศ.๒๔๕๗ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ปี พ.ศ.๒๔๗๒ เกษียนอายุราชการ
ผลงานหรือเกียรติคุณที่ได้รับ ปี พ.ศ.๒๔๗๖ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดสตูล เป็นคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล ปี พ.ศ.๒๔๗๘ มีการตั้งรัฐบาลใหม่ ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกพระยาพหล พลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงมหาดไทย และปี พ.ศ.๒๔๙๑ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ ๗๗ ปี และถึงแก่กรรม ปี พ.ศ.๒๕๐๖ เกียรติประวัติ คือ ๑. ด้านการปกครอง เป็นนักปกครองที่ดี เอาใจใส่ ดูแลทุกข์สุขของราษฎรส่งเสริมได้ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำการประมง เป็นข้าราชการตัวอย่างที่ทำการตรวจราชการที่ดี และได้เป็นแบบอย่างที่ยึดถือมาถึงปัจจุบัน ๒. ด้านการศึกษา ได้ขยายโรงเรียนประถมศึกษา ไปตำบลต่าง ๆ เร่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล็งเห็นโรงเรียนควรมีเนื้อที่มาก จะสะดวกในการเรียนการสอนการเกษตร แก้ไขความเชื่อผิดที่ว่าชายหญิงเรียนร่วมกันจะเป็นบาป เป็นบิดาการประถมศึกษาเมืองสตูล ๓. ด้านคมนาคม สร้างถนนสายสำคัญ ถนนสายเกาะนก สายฉลุง สายบ้านท่าจีน บ้านเกตรี อำเภอละงู ถึงอำเภอทุ่งหว้า ๔. ส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการปลูกกาแฟ พริกไทย ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ๕. การจัดตั้งศาลาดาโต๊ะยุติธรรม เห็นว่ามุสลิมมีปัญหามาก เรื่องมรดกทรัพย์สิน จึงดำเนินการตั้งศาลาดาโต๊ะยุติธรรมขึ้นมาเป็นครั้งแรก
พระยาสมันตรัฐบุรินทร์รับราชการครั้งแรกเป็นล่ามมลายูสังกัดกระทรวงกลาโหมและได้รับแต่งตั้งเป็นล่ามมลายูในกองข้าหลวงมณฑลปัตตานีประจำอยู่หัวเมืองภาคใต้ที่อำเภอยะหริ่ง สายบุรี และหนองจิกต่อมาได้รับราชการเป็นขุนราชบริรักษ์ ล่ามมณฑลปัตตานี ในปี พ.ศ.2459 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯเป็นพระยาสมันตรัฐบุรินทร์และได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลสืบต่อมาถึง 18 ปีเป็นผู้วางรากฐานในการพัฒนาท้องถิ่นอำเภอเบตงขึ้นเป็นคนแรกเมื่อได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ก็ปฏิบัติหน้าที่ในการเอาใจใส่ดูแลประชาราษฎร์ และพัฒนาจังหวัดเป็นอย่างดีเป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจากเดิมที่โรงเรียนสอนแต่ภาษามลายูทั้งยังได้พัฒนาด้านการคมนาคมด้วยการตัดเส้นทางทั้งทางรถไฟ และทางรถยนต์ เป็นตัวอย่างในการขุดบ่อเลี้ยงปลาที่ตำบลละงูทั้งยังแนะนำส่งเสริมให้ราษฎรปลูกกาแฟ พริกไทยจนสามารถส่งออกไปขายยังปีนังอีกด้วย
พระยาสมันตรัฐบุรินทร์เป็นผู้ที่สนใจศึกษาสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและชนเผ่าในท้องที่ทั้งยังมีความรู้ในเชิงกว้างทางด้านประวัติศาสตร์ ตำนานเรื่องเล่าทางศาสนาหลักความเชื่อตามหลักศาสนาอิสลาม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีการของชาวมลายูชนเผ่าซาไกและชาวน้ำจากรายงานการตรวจราชการและการตั้งข้อสังเกตผ่านบทความและปาฐกถาพบว่าพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ได้ให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์เหมาะสมจะนำไปปฏิบัติพัฒนางานด้านการศึกษาและการดูแลด้านสุขอนามัยแก่เยาวชน
มัสยิดวัดเกาะ อยู่ริมฝั่งเจ้าพระยาด้านตะวันออกใกล้กับวัดเกาะ(วัดสัมพันธวงศ์) เป็นมัสยิดที่สร้างบนพื้นที่ของหลวงโกชาอิศหาก โดยบ้านของท่านอยู่ริมฝั่งเจ้าพระยาด้านตรงข้าม คือ บริเวณคลองสาน
ในประมาณรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นายหวัน มูซาพ่อค้าจากไทรบุรี เดินทางเข้ามาค้าขาย และตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองธนบุรี ท่านหวัน มูซาเป็นบิดาของหลวงโกชา แต่งงานกับนางสาวเลี๊ยบ ซึ่งเป็นลูกสาวชาวจีนย่านสวนมะลิ ที่ดินของหลวงโกชา อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฟาก ฝั่งคลองสานมีที่ดินประมาณ 12 ไร่ มีพวกข้าทาสทำสวนผลไม้จนถึง เลิกทาส เมื่อมีการตัดถนนเจริญนครในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ดินบริเวณดังกล่าวจึงถูกแบ่งเป็น 2 ฝาก โดยที่ดินส่วนใหญ่อยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน
หลวงโกชาอิศหาก มีบุตร ธิดาหลายคน แต่เป็นชาย 3 คน คือ พระโกชาอิศหาก (หมัด) พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลา) และขุนกาญจนประศาสน์ อนึ่ง บินอับดุลลา คือ นามสกุลพระยาสมันตรัฐฯ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลวงโกชาอิศหาก รับราชการอยู่ 4 แผ่นดิน ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 โดยทำหน้าที่เป็นล่ามและรับเครื่องราชบรรณาการ ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ดังนั้นเวลาชาวต่างชาตินำเครื่องราชบรรณาการมาก็มาพักกันที่บ้านนี้ ซึ่งคุณปู่จะทำหน้าที่ถวายเครื่องราชบรรณาการต่อไป สำหรับที่ดินฝั่งตรงข้ามซึ่งเยื้องกับที่บ้านใช้เป็นที่เก็บสินค้า เป็นคลังสินค้า เพราะท่านเป็นพ่อค้าติดต่อค้าขาย ที่ดินแปลงนี้มีถนนทรงวาดตัดผ่าน เมื่อเลิกจากคลังสินค้า ที่ดินส่วนหนึ่งขายไป คงเหลืออยู่ประมาณ 2 ไร่เศษซึ่งเป็นบริเวณที่คุณปู่เกณฑ์ลูกหลานช่วยกันสร้างสุเหร่าไว้เป็นที่ละหมาดรวมกัน เนื่องจากสุเหร่านี้อยู่ใกล้วัดเกาะจึงเรียกกันว่า สุเหร่าวัดเกาะ และส่วนหนึ่งของพื้นที่ทำเป็นกุโบรฺคือ ที่ฝังศพ ศพของคุณปู่และคุณเติมศักดิ์ สมันตรัฐ ก็ฝังที่นั่น (อิ่ม สมันตรัฐ, สัมภาษณ์ : 26 เมษายน 2540, น้อมจิต สมันตรัฐ, สัมภาษณ์ : 13 พฤษภาคม 2540)
คุณเสรี สมันตรัฐ (สัมภาษณ์ 13 พฤษภาคม 2540) เล่าว่า สุเหร่านี้ไม่ได้จดทะเบียน เลยไม่มีชื่อเป็นทางการ เรียกกันติดปากว่า สุเหร่าวัดเกาะ และไม่มีคณะกรรมการมัสยิดเหมือนสุเหร่าหรือมัสยิดที่จดทะเบียน พวกเราสืบสานการปกครองดูแลกันมาตลอด โดยใช้เงินรายได้จากการให้เช่าที่และอาคารรอบมัสยิดเป็นทุน แต่ก็เป็นมัสยิดเปิด คือ ใครมาใช้ก็ได้ แต่ละศุกร์ก็มีมุสลิมเข้ามาละหมาดประมาณ 100 คน เป็นมุสลิมที่ทำงานหรือมีบ้านเรือนบริเวณนั้น ที่กุโบรฺก็เป็นที่สาธารณะเช่นกัน
พระยาสมันตรัฐฯ แรกเริ่มศึกษาที่วัดบางลำภูล่างหรือวัดเศวตฉัตร จากนั้นพระยาเปอร์ลิศขอไปอุปการะในฐานะบุตรบุญธรรมที่เมืองเปอร์ลิศ ทำให้ท่านมีความรู้ความสามารถในภาษามลายูอย่างดี และเข้ารับราชการเป็นล่ามมลายู จากนั้นได้ลงไปปฏิบัติราชการในหัวเมืองภาคใต้ เช่น ที่อำเภอยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก เบตง และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เมื่อ พ.ศ.2457 และได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่ออายุราชการจนถึง พ.ศ.2475 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสตูลและได้ร่วมเป็นคณะรัฐมนตรีในหลายรัฐบาล ใน พ.ศ.2491 มีการแต่งตั้งตำแหน่งวุฒิสมาชิก ท่านก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อีกเช่นกัน ส่วนตำแหน่งในช่วงท้ายเมื่อ พ.ศ.2498 ท่านดำรงตำแหน่งประธานสภาจังหวัด ที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทยและศึกษาธิการ นอกจากนั้น ก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรมในวัย 91 ปี ท่านยังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ตามเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดภาคใต้ เมื่อ พ.ศ.2502 ในฐานะล่ามพิเศษ ในครั้งนี้เอง ท่านได้มาเล่าให้ลูกหลานฟังว่า ท่านถึงกับน้ำตาไหลนองหน้าโดยไม่รู้สึกตัว ด้วยความปลื้มปิติเป็นล้นพ้นในพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ในขณะที่โดยเสด็จมาในขบวนรถไฟขากลับจะถึงหาดใหญ่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จจากที่ประทับมาหาท่านและโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้น 2 แก่ท่านในขณะนั้น ทั้งยังทรงพระกรุณาพระราชทานวโรกาสประทับนั่งสนทนาสอบถามทุกข์สุข และกิจการทางด้านศาสนากับท่านอยู่เป็นเวลานาน (อิ่ม สมันตรัฐ, สัมภาษณ์ : 26 เมษายน 2540)
พระยาสมันตรัฐมีบุตรธิดาหลายคน คุณเติมศักดิ์ สมันตรัฐ เป็นบุตรที่เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย จนได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด โดยรับตำแหน่งผู้ว่าฯ จังหวัดปัตตานีเป็นแห่งแรกในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ขึ้นที่ปัตตานี และได้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประเทศชาติจนสิ้นชีวิตลงในขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร หลังจากท่านสิ้นชีวิตคุณลัดดาวัลย์ ภรรยา ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ให้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดในโครงการศิลปาชีพ คุณลัดดาวัลย์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นคุณหญิง และต่อมาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2540 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นท่านผู้หญิงลัดดาวัลย์ สมันตรัฐ
(อิ่ม สมันตรัฐ, สัมภาษณ์ : 26 เมษายน 2540) |